เข้าใจคนอยากการุณยฆาต
และความเป็นไปได้

#เลือกเกิดไม่ได้เลือกตายได้ยัง
แคมเปญที่ชวนคนสนทนาเรื่องการการุณยฆาต
และการวางแผนการตายอย่างมีคุณภาพ
2409 followers
counted on 11 May 2024
48,000 Likes
counted on 11 May 2024
more than 395,000 views
counted on 11 May 2024
587 comments
counted on 11 May 2024
3,560 Accounts reached
counted on 11 May 2024
160 followers
counted on 11 May 2024
more than 9,000 Impressions
counted on 11 May 2024

ร่วมแสดงความคิดเห็นได้บน
ประเทศไทยพูดเรื่อง
การการุณยฆาตมากว่า
ปี
วิจัย ความคิดเห็นของแพทย์และบุคคลทั่วไปเกี่ยวกับการช่วยให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวังในการรักษาตายอย่างสงบ ของ นายวิสุทธิ์ สุขบำรุง คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุถึงการสำรวจความคิดเห็นในการทำการุณยฆาต
โดยบุคคลทั่วไป 62.2% เห็นด้วยกับการการุณยฆาต ตรงกันข้ามกับแพทย์ที่เห็นด้วยเพียง 27%
ก่อกำเนิด “พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550” ที่มีมาตรา 12 ระบุว่า บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อ ยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
โดยหลายภาคส่วนเชื่อว่านี่คือ passive Euthanasia หรือการการุณยฆาตเชิงรับ
แม้จะมีมาตรา 12 แล้ว ในมีนาคม 2562 ยังมีคนไทยตัดสินใจไปสวิตเซอร์แลนด์เพื่อการุณยฆาต
https://thematter.co/brief/mercy-killing/71925
พฤษภาคม 2562
เวทีเสวนาย่อยหัวข้อ ‘Dying in the future อนาคตใหม่ของความตาย จุดจบชีวิตที่กำหนดได้’ เป็นงานเสวนาที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุมจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มีการอภิปรายกันถึงการทำการุณยฆาต (Euthanasia) ว่าในสังคมไทยควรอนุญาตหรือไม่
วีระ สมบูรณ์ : การแพทย์ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ระบบการแพทย์ที่ดี คนที่มีฐานะสามารถรองรับและดำเนินไปได้ แต่กลุ่มคนด้อยโอกาสต้องเผชิญหน้ากับโจทย์อีกแบบหนึ่ง ต้องตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดบางอย่างด้วย เพราะฉะนั้นที่บอกว่า Autonomy ตัดสินใจโดยไม่มีข้อจำกัด จริงๆ แล้วมีหรือไม่มีแค่ไหน ผมคิดว่านี่เป็นโจทย์ที่สำคัญว่า เรายึด Autonomy อย่างเดียวได้หรือไม่ หรือเราต้องคำนึงถึงเรื่องอื่น
แม้แต่กฎหมายที่ออกมาแล้ว เราก็จะเห็นได้ว่าต้องกระทำโดยรอบคอบ รัดกุมมาก ต้องมีความเห็นของแพทย์กี่คน สิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ที่ผมคิดว่าเราไม่จำเป็นต้องตอบข้อหนึ่งแล้วใช้ตอบทั้งหมด เราสามารถพิจารณาแต่ละข้อแล้วมีคำตอบบางอย่างที่ตามมา อย่างที่ผมบอกว่ายิ่งพิจารณาแล้ว ยิ่งไม่กล้าตอบ เพราะมันเป็นโจทย์ที่ฟันธงยากมาก
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://prachatai.com/journal/2019/05/82651
ในงานเสวนาเดียวกัน นพ.ฉันชาย สิทธิพันธ์ ระบุว่า
การตายมีหลายระดับ ถ้าเรามองในชีวิตหนึ่งก็จะเป็นการตายที่แต่ละคนอาจมีนิยามไม่เหมือนกัน เช่น คนที่เป็นผัก เขาอาจจะรู้ว่าเขาตายไปจากสังคมหรือตายจากชีวิตซึ่งมีความหมายสำหรับเขา
มาถึงการตายทางกฎหมายคือสมองตายด้วย ทุกอย่างหยุด
ทุกประเทศมีหลักการเหมือนกันอยู่ 4-5 ข้อ ข้อแรกคนไข้ต้องแสดงความจำนงค์และสมัครใจเพราะเขาได้รับความทุกข์ทรมาน แต่ก่อนเริ่มทางกายก่อน คือเจ็บปวดทุกข์ทรมานและเป็นโรคที่รักษาไม่หาย บางประเทศกำหนดไว้เลยว่าต้องเป็นคนไข้ใกล้ตายเท่านั้นคือต้องไม่เกิน 6 เดือน ในอเมริกา ถ้าคุณยังมีชีวิตอยู่อีกนาน ยังทุกข์ทรมานอีกนาน เขายังไม่ให้ตายนะครับ ต้องตายภายใน 6 เดือน จะเห็นว่านี่เป็นข้อปลีกย่อย แต่ละกฎหมายจะไม่เหมือนกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เอาคนซึ่งอาจยังอยู่ได้อีกนานมาทำ ขณะเดียวกันเริ่มมีการขยายข้อบ่งชี้ เช่นความไม่สบายทางจิต ภาวะทุกข์ทรมานทางใจอย่างรุนแรง ในเบลเยี่ยมเริ่มให้ทำแล้ว
มีการตั้งตัวชี้วัดที่แปลกๆ มากขึ้น เช่น รู้สึกว่าหมดพลังชีวิต ซึ่งไม่รู้ว่านิยามยังไง ทำให้เกิดความกังวลว่าข้อบ่งชี้เหล่านี้หละหลวมไปหรือไม่
ถามว่าในประเทศไทยควรมีหรือไม่ อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวครับ ผมคิดว่าคนไข้ระยะสุดท้าย เราจะเน้นให้การดูแลแบบประคับประคองเป็นหลัก เราจะปฏิเสธการช่วยให้เขาเสียชีวิต เพราะเราเชื่อว่าการดูแลแบบประคับประคองโดยมีทีมเข้าไปดูแลให้ครบวงจร มีญาติช่วย คนไข้ตั้งเป้าหมายไปกับเรา น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดและเป็นคำตอบที่ดีที่สุดในขณะนี้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://prachatai.com/journal/2019/05/82658
มนุษย์ต่างวัย Talk สัมภาษณ์นพ.ฉันชาย
ยังไงก็มีการแจ้งและอัปเดตอาการให้กับคนไข้และญาติอยู่ตลอด เพราะฉะนั้นถ้าคนไข้ไปต่อ มองว่าคุ้มค่า ก็ไปต่อ และรักษาแบบประคับประคอง หมอจะให้สิทธิ์ตัดสินใจกับคนไข้/ญาติ
“การรักษาไม่ได้มีแค่การุณยฆาต หรือประคับประคอง มันมีสิ่งที่เรียกว่าการเปลี่ยนเป้าการรักษา เช่น อะไรที่ทำให้คนไข้สบายก็จะทำ อะไรที่เป็นการยื้อชีวิตก็จะค่อย ๆ ผ่อน ไม่ว่าจะยังไงควรยึดสิ่งที่คนไข้ต้องการมากที่สุด”
Matter สัมภาษณ์หลายหลายบุคคลในประเด็นการุณยฆาต
นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผอ.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อคำถามของ The MATTER ว่า หากการุณยฆาตเกิดขึ้นในเมืองไทยจะมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
ราวปี 2562 นพ.ฉันชายเคยพูดไว้ว่า “การุณยฆาตมีได้..แต่ยังไม่ได้ในตอนนี้” ผ่านมา 3 ปี เขายังยืนยันในจุดยืนเดิม โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยน่ากังวลไว้หลายข้อ
หนึ่ง การุณยฆาตอาจไม่ใช่สิ่งที่ผู้ป่วยต้องการอย่างแท้จริง เพราะผู้ป่วยอาจยังไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอจนรู้สึกว่ามีคุณภาพชีวิตที่ดี ว่าง่ายๆ ก็คือ คนไข้อาจอยากจบชีวิตเพราะไม่ได้รับการดูแลขั้นพื้นฐานครบถ้วนจนรู้สึกว่าที่ทรมานอยู่มันแก้ไขไม่ได้แล้วจริงๆ ก็ได้
สอง การุณยฆาตอาจเกิดจากปัจจัยอื่น เช่น ผู้ป่วยรู้สึกว่าเป็นภาระ (burden) ของคนอื่น โดยเฉพาะในสังคมไทยที่ต้องกังวลว่าแก่ตัวไปใครจะดูแล ซึ่งหากการทำการุณยฆาตมีปัจจัยลักษณะนี้เข้ามาเป็นประเด็น ก็อาจไม่ตรงตามวัตถุประสงค์หลักก็ได้
สาม อาจเกิดสภาวะ slippery slope หรือการที่หมอเริ่มลดข้อจำกัดของผู้ป่วยที่สมควรทำการุณยฆาตลงเรื่อยๆ จนอาจเป็นสภาวะที่ ‘หยุดไม่อยู่’
นพ.ภิญโญ ศรีวีระชัย แพทย์ชำนาญการพิเศษด้านดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจาก รพ.ศิริราช มองว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาของการการุณยฆาต เพราะคนไข้ส่วนหนึ่งที่มีความทรมานยังเข้าไม่ถึงการดูแลแบบประคับประคองด้วยซ้ำ
“คือคนส่วนหนึ่งที่ทรมานแล้วหมอทั่วไปรักษาไม่ได้ ก็เลือกที่จะตาย แต่จริงๆ แล้วเขายังเข้าไม่ถึงการดูแลแบบประคับประคองเลย”
ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สอนวิชาสังคมวิทยาความตาย ยกประเด็นเรื่องความเชื่อทางศาสนาที่บอกว่าการฆ่าคนตายเป็นบาป มาเป็นหนึ่งใน ‘ข้อจำกัด’ ที่ทำให้การพูดคุยเรื่องนี้ในสังคมไทยยังไม่กว้างขวางมากนัก แตกต่างกับหลายๆ ประเทศที่พูดคุยกันอย่างเปิดเผย จนตกผลึกร่วมกันแล้วว่า ควรจะให้มีหรือไม่ให้มีการุณยฆาต โดยอาจมีตัวจุดประเด็นเป็นกรณีที่มีคนยื่นฟ้องต่อศาล แต่ประเทศไทยยังไปไม่ถึงจุดนั้น
อีกปัจจัยที่ อ.ภาวิกามองว่า ทำให้ประเด็นเรื่องการุณยฆาตยังไม่ถึงกับเป็น public debate ก็คือฐานคิดเรื่อง ‘สิทธิ’ ที่สังคมไทยยังต่างจากหลายชาติตะวันตก ไม่รวมถึงขั้นตอนการพิจารณากฎหมายต่างๆ ที่บางฉบับ แทบไม่มีประชาชนรู้เลยว่ามีอยู่ ซึ่งแปลว่าหลายเรื่องไม่ได้มาจากความต้องการของประชาชน
อ่านฉบับเต็มได้ที่ https://thematter.co/social/euthanasia/183524
ระหว่างการเลือกตั้งใหญ่ปี 66 พรรคก้าวไกลได้เสนอนโยบาย ‘ตายดี’ ที่ระบุถึงสิทธิการการุณยฆาตสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยมีภาคประชาชนออกมาสนับสนุนและแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ (X/ Twitter และ Facebook) เกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว
เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2567 ประกาศออนแอร์ซีรีส์การุณยฆาต นิยายชื่อดังของ Sammon หรือหมอแซม ทาง OneD Original นำแสดงโดยต่อ ธนภพ และเจเจ กฤษณภูมิ
บทความสัมภาษณ์
การุณยฆาต 101
เลื่อนเพื่ออ่านเพิ่มเติม






เพราะทุกเสียงมีความหมาย ฟังเสียงคนอยากการุณยฆาต
4 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการุณยฆาต
เลื่อนเพื่ออ่านเพิ่มเติม





คุยกับนักเรียนแพทย์เรื่องการุณยฆาต
เลื่อนเพื่ออ่านเพิ่มเติม





